SPECIAL_BRANCH_bernama.

ความเป็นมาของ ตำรวจสันติบาล กองกำลังช่วยเหลือตำรวจนครบาลและตำรวจภูธร

SPECIAL_BRANCH_bernama.

ตำรวจจัดว่าเป็นหน่วยงานที่สำคัญอย่างมากของงานด้านความมั่นคง เนื่องจากตำรวจจะเป็นผู้ดูแลรักษาความเรียบร้อยสิ่งที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง ทุกคนในเมืองจะอยู่กันอย่างปลอดภัยได้ ก็เพราะว่ามีตำรวจคอยกวดขัน ตรวจตรา การปฏิบัติตนให้ทำตามกฎหมาย รวมถึงการปราบปรามโจรผู้ร้ายให้หมดสิ้นไป ตำรวจเองก็เป็นหน่วยงานที่มีแผนกย่อยลงไปหลายอย่างเรามาทำความรู้จักตำรวจสันติบาลกัน

การแบ่งอำนาจหน้าที่ของตำรวจ

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกันก่อนว่าตำรวจเป็นองค์กรที่มีความซับซ้อนมาก ทั้งในพื้นที่ชั้นในของประเทศ และรอบนอกของประเทศ เพื่อให้การบริหารจัดการองค์กรไปได้เรียบร้อย จึงต้องแบ่งงานกันอย่างชัดเจน องค์กรตำรวจแบ่งงานออกเป็น 4 ส่วนด้วยกัน หนึ่งคือส่วนกองบังคับการเหมือนกับเป็นส่วนกลางของหน่วยงานตำรวจ สองตำรวจนครบาลเป็นกองตำรวจที่มีพื้นที่รับผิดชอบอยู่ในเขตเมืองหลวง (กรุงเทพ) เป็นหลัก สามตำรวจภูธรจะทำหน้าที่เหมือนกองตำรวจนครบาลแต่จะทำพื้นที่นอกเมือง ต่างจังหวัดตามพื้นที่อื่น และสี่ตำรวจสันติบาลเป็นเหมือนกับหน่วยที่คอยซัพพอร์ต สนับสนุนส่วนงานตำรวจนครบาลกับตำรวจภูธร

ประวัติความเป็นมา

กองตำรวจสันติบาลนั้น เป็นกองกำลังที่เกิดมาพร้อมกับการปรับหน่วยงานเป็นตำรวจ โดยวันที่เกิดของตำรวจสันติบาลก็คือวันที่ 17 พฤศจิกายน 2475 โดยผู้กุมบังเหียนส่วนงานนี้คนแรกก็คือ นายพันตำรวจ พระนรากรบริรักษ์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรมณฑลพายัพ ได้รับการปรับตำแหน่งให้สูงขึ้นมาดำรงตำแหน่งดังกล่าว

การแบ่งหน้าที่ของสันติบาล

เพื่อให้การทำงานของตำรวจสันติบาลทำได้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยสันติบาลเองก็จะมีการแบ่งหน่วยย่อยออกมาเพื่อทำหน้าที่แตกต่างกัน ช่วงก่อตั้งหน่วยงานโดยแบ่งออกเป็น กองที่ 1-3 บวกกับกองตำรวจแผนกสรรพากร โดยเฉพาะกองที่3 มีความพิเศษย่อยลงไปอีก 4 แผนกไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพิมพ์ลายนิ้วมือ, วิทยากร, ข้อมูลของโจรผู้ร้าย เป็นต้น ตอนนั้นสันติบาลเป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ที่ ท่าเตียน จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า สันติบาลท่าเตียนด้วย ก่อนจะย้ายไปอยู่ที่ตึกใหม่

ลักษณะงานของสันติบาล

งานของตำรวจสันติบาลนั้นเป็นอีกงานที่มีความสำคัญมาก ภารกิจหน้าที่ของพวกเค้ามีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการถวายความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์และพระราชอาคันตุกะ สองดำเนินงานเกี่ยวกับความมั่นคงข่าวกรอง ไม่เพียงแต่หาข่าวกรองอย่างเดียว ยังหมายถึงการวางยุทธศาสตร์ การดำเนินวิธีการสืบค้นข่าวกรองอีกด้วย

ตำรวจสันติบาลจึงเปรียบเสมือนหน่วยงานสำคัญอีกกองหนึ่งของตำรวจ เพราะนอกจากหน้าที่สนับสนุนตำรวจนครบาลและตำรวจภูธรแล้ว งานด้านข่าวกรองพวกเค้าก็เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของการทำงานด้านความปลอดภัยทีเดียว ยิ่งโลกยุคข้อมูลแบบนี้พวกเค้ายิ่งต้องการข่าวกรองให้มากขึ้นไปอีก

ตำรวจกับสิทธืในการตรวจปัสสาวะของประชาชน เรื่องน่ารู้ที่ประชาชนควรศึกษา

ตำรวจ มิสิทธิ์ขอตรวจปัสสาวะประชาชนได้หรือ

ตำรวจกับสิทธืในการตรวจปัสสาวะของประชาชน เรื่องน่ารู้ที่ประชาชนควรศึกษา
สิทธิในการตรวจปัสสาวะ ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีมากมายน้อยแค่ไหน

ขึ้นชื่อว่าตำรวจคงไม่มีใครอยากเจอยามไม่มีเหตุอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ยิ่งหากต้องเจอตรวจอะไรสักอย่างแล้วนี่ยิ่งไปกันใหญ่เลย แม้เราจะบริสุทธิ์ใจก็จริง แต่เชื่อเหอะว่าคงไม่มีใครอยากเจอตรวจค้นหรอก อีกหนึ่งเหตุการณ์ที่หลายคนสงสัยมากนั่นคือ ตำรวจสามารถตรวจปัสสาวะ(ปัสสาวะ) ของเราได้หรือไม่ ทำได้มากน้อยแค่ไหน

ตำรวจตรวจปัสสาวะได้หรือไม่

เรามาว่ากันเรื่องนี้เลยดีกว่าว่า ตำรวจสามารถตรวจปัสสาวะได้หรือไม่ คำตอบก็คือไม่ได้ ยิ่งถ้าหากเราขับรถมาแล้วเจอตำรวจตั้งด่านจากนั้นก็เชิญลงไปพูดคุยสอบสวนว่าจะไปไหนอะไรยังไง ตบท้ายด้วยการเชิญให้ไปตรวจปัสสาวะ แบบนี้ไม่ได้เลย เรามีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจปัสสาวะได้เหมือนกัน (แต่เชื่อว่าคงไม่มีใครกล้าทำ กลัวตำรวจมองว่าไม่บริสุทธิ์ใจ)

สถานการณ์สุ่มเสี่ยง

แต่อำนาจของตำรวจมันก็มีข้อยืดหยุ่นของมันด้วย จากสถานการณ์เดิมหากเราในสภาพที่ไม่ปกติ มีพิรุธเหมือนจะฟ้องว่าเสพยามา นั่นก็อาจจะทำให้ตำรวจของตรวจปัสสาวะเพื่อเอาข้อมูล หลักฐานตรงนั้นได้เช่นกัน หรือ บางครั้งตำรวจไปตรวจสถานบันเทิง แหล่งมั่วสุ่ม ซึ่งอาจจะฟ้องได้ว่ามีการเสพยาก็ทำให้ต้องตำรวจต้องมีการดำเนินการสุ่มตรวจปัสสาวะ หรือ ตรวจปัสสาวะทั้งหมดเพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลในการจับกุมได้ต่อไป หากเราไปอยู่ในสถานการณ์แบบนี้คงหลีกเลี่ยงได้ยากมาก และหากเราไม่ผิดจริงการไม่หลีกเลี่ยงจะได้ผลดีกว่า

วิธีการตรวจปัสสาวะ

อีกหนึ่งประเด็นที่มีการพูดคุยกันเรื่องตรวจปัสสาวะนั่นคือ วิธีการตรวจปัสสาวะของตำรวจ กล่าวคือ บางแห่งจะจัดพื้นที่ให้เราเข้าไปปัสสาวะออกมาอย่างเป็นสัดส่วน แต่บางแห่งก็ไม่ ให้เราไปปัสสาวะข้างถนน บางครั้งก็มีคนยืนประกอบซ้ายขวาเพื่อเช็คว่าปัสสาวะที่ได้มานั้นเป็นของเจ้าตัวจริงๆ ไม่ได้เป็นการแอบซ่อนเอาไว้(อย่าคิดว่าเป็นเรื่องตลกมีคนทำมาแล้ว เพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ชั่วโมงนั้นเชื่อว่าอะไรก็ทำหมดแหละ คนทำผิดไม่มีใครยอมจับโดยง่ายแน่) ทีนี้วิธีการควบคุมแบบนี้บางครั้งมันก็เหมือนกับไปลิดรอนสิทธิของคนถูกตรวจด้วยเหมือนกัน บางคนมายืนคุมแบบนี้ตื่นเต้นจนพาลปัสสาวะไม่ออกต้องนั่งกินน้ำ ทำใจกันยกใหญ่เลยก็มีเหมือนกัน

อย่างไรก็ตาม เราก็อยากจะให้มองต่างมุมคิดถึงผู้ปฏิบัติงานอย่างตำรวจดูด้วย พวกเค้าเองเอาจริงๆ ก็คงไม่มีใครอยากมานั่งดมปัสสาวะคนอื่นแบบนี้หรอก แต่ที่ต้องทำก็เป็นหน้าที่หากเราไม่ผิดจริง ไม่ได้ทำมาจริง การให้ความร่วมมือเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจเป็นทางออกที่ดีที่สุด

police_and_soldier

ความแตกต่างระหว่างตำรวจและทหาร

police_and_soldier

ตำรวจกับทหาร มักจะเป็นสองอาชีพที่คนมักจะยกมาเปรียบเทียบกันเสมอในเรื่องต่างๆ ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าอาชีพทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยเราทั้งคู่ เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน เราขอยกมิติของตำรวจและทหารมาเปรียบเทียบกัน แต่เราจะบอกว่าอันไหนดีกว่านะ เราเชื่อว่าทั้งตำรวจและทหารต่างเป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่

พื้นที่การทำงาน

ตำรวจ กับทหาร แตกต่างกันอย่างมากในเรื่องของพื้นที่การทำงาน เรามักจะคุ้นกันดีกว่า ทหารเปรียบเหมือนรั้วของชาติกล่าวคือ ทหารจะคอยดูแลความสงบเรียบร้อยเพื่อป้องกันศัตรูจากภายนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ หากใครคิดจะรุกล้ำอธิปไตยไทยแม้แต่ก้าวเดียวต้องคุยกับพี่ทหารไทยเสียก่อน เราอาจจะเคยเห็นไทยมีการสู้รบตามแนวเขตชายแดนไทยบ้างเป็นระยะ เพื่อป้องกันอธิปไตยดังกล่าว ส่วนตำรวจจะเป็นการทำงานเพื่อสอดส่องดูแลประชาชนในพื้นที่ เปรียบเสมือนพ่อบ้านที่ต้องคอยดูแลเรื่องราวในบ้านให้ทุกคนในบ้านสงบเรียบร้อย แม้จะมีการประสานงานเรื่องผู้ร้ายข้ามแดนทั้งจับเอง หรือ ขอตัว แต่ก็มีบางกรณีเท่านั้นเอง

ความใกล้ชิดประชาชน

ประเด็นความใกล้ชิดประชาชน อันนี้ต้องบอกว่าตำรวจทำงานใกล้ชิดประชาชนมากกว่า จากแนวคิดในข้อแรกทำให้ตำรวจต้องอยู่ร่วมกับประชาชนตลอดไม่ว่าจะเป็นงานชุมชนสัมพันธ์ งานจราจร งานดับเพลิง ตามจับโจรผู้ร้าย เรื่องเหล่านี้ตำรวจต้องอยู่ใกล้กับประชาชนเพื่อเก็บหลักฐาน สอดส่อง ให้เกิดความเรียบร้อย ส่วนทหารจะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงมากกว่า อยู่แต่ในค่ายทหาร อาจจะไม่ใกล้ชิดประชาชนมากนัก ยกเว้นประชาชนในค่ายทหาร หรือ เขตชายแดน

ความเสี่ยงในการทำงาน

หนึ่งมิติที่สองอาชีพนี้ต้องเจอเหมือนกันก็คือ ความเสี่ยง เนื่องจากทั้งสองอาชีพจะต้องเจอกับศัตรู โจร ผู้ร้ายที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อฆ่าอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้เพื่อให้ตัวเองรอด ตำรวจเองก็จะเจอความเสี่ยงคนร้ายต่อสู้ไม่ว่าจะเป็น ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพล มาเฟีย คนบ้า และอีกมากมาย เราอาจจะเคยเห็นตำรวจต้องต่อสู้กับคนร้ายที่มีอาวุธตั้งแต่มีด ปืน ระเบิดทำมือ จนไปถึงอาวุธสงครามกันมาแล้ว ส่วนทหารเองก็มีความเสี่ยงเหมือนกัน ยิ่งตามเขตชายแดนพวกเค้าจะต้องสู้รบกับทหารของอีกฝ่าย หรือ ผู้ก่อการร้ายที่ฝึกฝนร่างกาย การใช้อาวุธมาเป็นอย่างดี ไหนจะอาวุธสงครามที่อันตราย รุนแรงมาก เรียกว่าเป็นความเสี่ยงเหมือนกัน

แม้จะเสียงข่อนคอดตำหนิ เหน็บแนม อาชีพทั้งสองในด้านที่ไม่ดี แต่เราก็เชื่ออยู่ลึกๆ ว่า แท้จริงอาชีพทั้งสองมีความสำคัญต่อประเทศมาก และ มีคนดีมากกว่าคนไม่ดีในองค์กรนั้น ไม่อย่างนั้นองค์กรนั้นล้มไปแล้ว อย่างไรก็ตามเราขอสดุดีสรรเสริญทั้งทหาร และตำรวจทุกท่านที่ช่วยเหลือประเทศของเรา

ตำรวจสันติบาล

ตำรวจสันติบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรอง

ตำรวจสันติบาล
ตำรวจสันติบาล ผู้มีความสำคัญอย่างมาก กับข่าวกรองทั่วไปในพื้นที่

การทำงานของตำรวจเรื่องของข้อมูลถือว่าสำคัญอย่างมาก หากตำรวจสามารถล่วงรู้ข้อมูลได้ก่อนคนร้าย จะทำให้ตำรวจนำอยู่ 1 ก้าว จากนั้นเรื่องการไล่ตามจับคนร้ายก็ถือว่าไม่ยากแล้ว กลับกันหากข้อมูลไม่ดีโอกาสจะจับคนร้ายก็น้อยลงไปเรื่อย งานด้านข้อมูลการข่าวสำหรับตำรวจต้องยกหน้าที่นี้ให้กับ ตำรวจสันติบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวกรอง

ดำเนินการด้านข่าวกรอง

หน้าที่หลักของตำรวจสันติบาล นั่นคือ ข่าวกรอง ตำรวจสันติบาลมีหน้าที่จัดการข่าวกรองเกี่ยวกับบุคคล หรือ องค์กรที่ดูแนวโน้มเป็นภัยต่อความมั่นคงระดับประเทศได้ ดังนั้นไม่แปลกที่จะมีข่าวว่าตอนนี้ทางสันติบาลกำลังสืบสวน ตามเจาะ ตามเสาะหาเรื่องราวของคนที่อาจจะก่อเหตุร้ายได้ในประเทศ

ประสานงาน

ข่าวกรอง ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญมากในการดำเนินการของตำรวจหน่วยงานอื่น นั่นทำให้ สันติบาล เสมือนเป็นคลังข้อมูลของตำรวจทั่วประเทศไปด้วย หน้าที่ต่อมาของสันติบาลนั่นก็คือ การนำข้อมูล ข่าวกรองที่ตัวเองหาได้ หรือ หามาตามคำสั่งนั้นส่งต่อไปยังหน่วยงานที่ขอมา หรือ หน่วยงานอื่น เพื่อประสานงานกันเป็นเครือข่ายวางยุทธศาสตร์ต่อไป เราคงเคยเห็นการลงมือปฏิบัติการแบบรวดเร็วสายฟ้าแลบเพื่อจับคนร้าย สันติบาล ถือว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จอีกหน่วยหนึ่ง

งานความปลอดภัย

แม้จะทำงานด้านข่าวกรองเป็นหลัก แต่งานด้านความปลอดภัยก็เป็นงานของตำรวจสันติบาลด้วยเช่นกัน พวกเค้ามีหน้าที่รับรอง รักษาความปลอดภัยของบุคคลสำคัญ สถานที่ที่สำคัญของประเทศ หรือ เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศด้วย อีกทั้งพวกเค้ายังทำหน้าที่เป็นด่านแรกในการป้องกันไม่ให้ข้อมูลสำคัญรั่วไหลอีกด้วย ลองนึกภาพ เบอร์มือถือส่วนตัวของนายกรัฐมนตรีหลุดออกไป คงไม่ดีแน่จริงไหม

การพัฒนาด้านการข่าว

ข่าว เป็นข้อมูลสำคัญมากในการต่อสู้ทั้งทางการเมือง และสู้รบจริง ตำรวจสันติบาลนอกจากจะต้องพัฒนาหาข่าวกรองให้ได้มากขึ้น พวกเค้าต้องพัฒนาองค์กรของตัวเองให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสร้างบุคลากรด้านข่าวกรองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคตอีกด้วย

งานมั่นคงอื่น

ตำรวจข่าวกรอง ไม่ได้ทำหน้าที่ด้านข่าวกรองอย่างเดียวเท่านั้น พวกเค้าต้องทำงานด้านความมั่นคงแบบอื่นๆ ด้วย ซึ่งอาจจะเป็นในรูปแบบประสานงานกับหน่วยอื่น หรือ งานเกี่ยวกับสัญชาติ ซึ่งจะทำให้จับกุมคนร้ายได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

งานวิทยุกระจายเสียง

กระบอกเสียงของตำรวจสันติบาลเป็นอีกหนึ่งงานสำคัญของ หน่วยตำรวจสันติบาลด้วย เนื่องจากจะเป็นการกระจายข่าวสารที่ถูกต้องของหน่วยงานตำรวจทั้งหมดอีกด้วย รวมถึงภาพลักษณ์องค์กรก็จะถูกถ่ายทอดผ่านหน่วยงานดีด้วยเช่นกัน

แม้ว่าตำรวจสันติบาล อาจจะไม่ได้ออกหน้าสื่อเวลาจับคนร้ายได้ แต่พวกเค้าถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญเพื่อให้ตำรวจหน่วยงานอื่นวางแผนการทำงานให้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพขึ้น จะบอกว่าพวกเค้าคือ ทีมอยู่เบื้องหลังก็ไม่ผิดนัก

Highway_Police_Role

หน้าที่ตํารวจทางหลวง มีอำนาจในการหยุดรถมากแค่ไหน

Highway_Police_Role

คนขับรถใช้ถนนเวลาออกต่างจังหวัด ขับรถมาเพลินๆ เชื่อเลยว่าสิ่งหนึ่งที่หลายคนไม่อยากเจอ (แต่ต้องเจอ) นั่นก็คือ การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวง หรือบางคนเรียกว่า ฉลาม พวกเค้ามักจะมีการตั้งด่านเพื่อสกัดรถให้ชะลอ เพื่อตรวจความผิดปกติของรถยนต์ สิ่งของที่บรรทุกมาเป็นต้น ทีนี้เรามาดูกันว่า ตำรวจทางหลวงแท้จริงพวกเค้าทำอะไรได้บ้าง

โบกรถทุกคันได้หรือไม่

คำถามสุดคาใจที่คนขับรถหลายคนไม่รู้นั่นก็คือ ตำรวจทางหลวงสามารถโบกรถทุกคนที่หยุดได้หรือไม่ คำตอบก็คือ ไม่ได้แต่ไม่ทุกครั้ง เอาเค้าจริงข้อกฎหมายตรงนี้ตีความค่อนข้างกว้างมาก เดี๋ยวเราจะมาอธิบายไปทีละประเด็นเพื่อให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้เข้าใจเสียก่อน

ใครโบกรถได้บ้าง

เรามาทำความเข้าใจอย่างแรกก่อนเลย นั่นคือ ใครสามารถโบกรถให้เราจอดได้บ้าง คำตอบ เจ้าพนักงานจราจร หรือ พนักงานเจ้าหน้าที่จราจร ที่ได้รับมอบหมายตาม พ.ร.บ. จราจรเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์มาโบกรถได้ หากเป็นตำรวจหน้าที่อื่นมาโบกอันนี้ผิดแล้ว ไม่เพียงแค่นั้นแม้จะเป็นพนักงานจราจรก็จริงแต่การโบกรถจะต้องเกิดขึ้นจากการตั้งด่านตรวจ จุดตรวจ จุดสกัดตามกฎหมายด้วย (เค้าจะมีระเบียบ ข้อบังคับชัดเจน หากไม่ทำตามแสดงว่าเป็นด่านเถื่อน ด่านลอย)

ทำอย่างไรถึงจะโดนโบก

ทีนี้เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า เพราะอะไรตำรวจทางหลวง หรือ พนักงานจราจรจะโบกรถได้ คำตอบก็คือ เราจะต้องทำอะไรสักอย่างที่ดูว่าผิดตาม พรบ.ทางหลวง มาตรา 23 ก่อนพวกเค้าถึงจะโบกได้ มาตรนี้ในวรรคสองกล่าวโดยสรุปว่า พนักงานจราจรสามารถเรียกยานพาหนะให้หยดเพื่อทำการตรวจสอบ ในกรณีที่เชื่อว่ามีการกระทำผิด วรรคนี้แหละหากเราไม่ผิดทั้งตัวรถ และวิธีการขับรถ เค้าก็ไม่สามารถโบกให้เราจอดได้ ความเชื่อของตำรวจที่จะต้องคอยโบกรถทุกคันให้จอดนั้นเป็นความคิดที่ผิด

โดนโบกก็ต้องจอด

แต่หากเราโดนโบกด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราควรทำก็คือ ต้องจอดเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจหากเราฝ่าฝืนขับหนีไปอาจจะโดนตามจับด้วยเชื่อว่าเราอาจจะมีสิ่งผิดกฎหมายได้ อย่าคิดว่าไม่ผิดก็ไม่จอดเด็ดขาด(บางคนไม่จอดแล้วรอดเลยมาบอกต่อกันว่าให้ทำ ซึ่งจริงๆ ไม่แนะนำ) แน่นอนว่าหากเราจอดอาจจะต้องโดนตรวจสอบรอบคัน แต่ขอให้มั่นใจในตัวเองไว้หากไม่ผิดจริง ก็ไม่ยอม

นี่คือข้อกฎหมายเกี่ยวกับด่านตรวจ และตำรวจทางหลวงที่เราควรรู้เอาไว้เป็นพื้นฐาน หากเจอด่านครั้งต่อไปจะได้รับมือได้ทัน

Police_Station_Woman

เส้นทางการเป็นตำรวจหญิง ไม่ง่ายแต่ไม่ยาก

Police_Station_Woman
เส้นทางการเป็นตำรวจหญิงและการปฎิบัติหน้าที่

อาชีพตำรวจเมื่อก่อนอาจจะเป็นอาชีพที่สงวนไว้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น ผู้หญิงโอกาสค่อนข้างน้อยมาก มีก็เพียงคนที่ทำหน้าที่เอกสารเท่านั้นเอง แต่ปัจจุบันตำรวจหญิงเริ่มมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากภาพลักษณ์ขององค์กรแล้ว หน้าที่การทำงานของดอกไม้เหล็กเหล่านี้ก็ยอดเยี่ยมด้วย มาดูกันว่าเส้นทางการเป็นตำรวจมีอะไรบ้าง

การเตรียมตัวเป็นตำรวจหญิง

หากเราอยากจะเป็นตำรวจหญิงกับเค้าบ้าง ต้องมีการเตรียมตัวเสียก่อน อย่างแรกเลยตำรวจต้องมีร่างกายที่แข็งแรงแม้จะเป็นหญิงก็ต้องมีความแข็งแรง ทะมัดทะแมง คล่องแคล่วไม่แพ้ผู้ชายเหมือนกัน งานนี้ต้องฟิตซ้อม ฟิตหุ่นกันหน่อยนะ ทั้งวิ่ง กระโดดเชือก ซิตอัพ วิดพื้น ว่ายน้ำ(ใครว่ายไม่เป็นต้องฝึก) ของเหล่านี้ต้องสั่งสมมาเป็นเวลาพอสมควรเลยทีเดียว สองด้านความรู้แม้ว่าจะเลือกเส้นทางการเป็นตำรวจสายไหน เราต้องสอบแข่งขันกับคนอีกหลายพันคนที่หวังตำแหน่งตำรวจหญิงเหมือนกัน หากคิดจะสู้ก็ต้องอ่านหนังสือ เตรียมตัวเอาไว้ด้วย หากเรานับตำแหน่ง นายร้อยตำรวจหญิงเป็นที่ตั้งจะมีเส้นทางอาชีพไปถึงตรงนั้นได้ทั้งหมด 3 ทางดังนี้

1.เส้นทางสู่ตำรวจหญิง

เส้นทางสู่ตำรวจหญิง มีให้เลือกทั้งหมด 3 เส้นทางด้วยกัน เส้นทางแรก สตาร์ทที่จบสายอาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ไม่กำหนดสายการเรียน เมื่อจบสามารถเข้าสอบแข่งขันเพื่อเข้าสู่เส้นทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้เลย จากนั้นก็จะเข้าอบรมหลักสูตรนายสิบตำรวจหญิงระยะเวลา 1 ปี จากนั้นก็จะติดยศ นายสิบตำรวจหญิง แล้วก็เข้าสู่กระบวนการสอบแข่งขันอีกครั้ง เพื่อก้าวขึ้นสู่นายร้อยตำรวจหญิง

2.เส้นทางสู่ตำรวจหญิง

เส้นทางที่สองเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมากที่สุดเพื่อสานฝันสู่การเป็นนายร้อยตำรวจหญิง เริ่มจากจบวุฒิม.6 หรือ ปวช. อย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้นสอบแข่งขันเข้าตรงสู่โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพรานใช้เวลาเรียนหลักสูตร 4 ปี เมื่อจบการศึกษาก็จะได้บรรจุร้อยตำรวจตรีเป็นนายร้อยตำรวจหญิงตามต้องการ เส้นทางนี้แม้จะมีการสอบเพียงแค่ครั้งเดียวก็จริงแต่ยากมาก เนื่องจากมีผู้สมัครเข้าสู่เส้นทางนี้เยอะที่สุด แข่งขันเยอะที่สุด

3.เส้นทางสู่ตำรวจหญิง

เส้นทางที่สาม จะเริ่มต้นจากจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย สาขาใดก็ได้ จากนั้นนำวุฒิปริญญาตรีไปสอบบรรจุกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หากสอบได้จะเข้าอบรมหลักสูตร 6 เดือน เมื่อผ่านการอบรมจะได้รับบรรจุเป็นนายร้อยตำรวจหญิงตามต้องการ

จากเส้นทางทั้งสาม หากใครมีความฝันจะไปเป็นตำรวจหญิงขอให้เตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ เอกสารที่เกี่ยวข้อง พอถึงช่วงเวลาเปิดสมัครจะได้ทันกาล ขอให้เพื่อนทุกคนได้เป็นตำรวจหญิงดั่งหวังตั้งใจ

police_should_reform

ประชาชนคาดหวังอะไรจากการปฏิรูปตำรวจ

police_should_reform
การปฏิรูปตำรวจที่จะช่วยให้ความเป็นอยู่ของประชาชนสะดวกสบาย ตามความต้องการของประชาชน

คำว่า ปฏิรูปตำรวจ เราได้ยินกันมานานมากแล้ว ส่วนตัวผู้เขียนเองก็ได้ยินมาไม่น้อยกว่า 2-3 ครั้งได้ เรามักจะได้ยินเสมอเมื่อเกิดเหตุอันไม่สมควรในวงการสีกากี หรือ บางทีรัฐบาลใหม่ก็ประกาศเรื่องนี้ออกมา ทุกครั้งเวลาได้ยินคำนี้เราเองก็คาดหวังว่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่ถูกอย่างก็อยู่เพียงแค่กระดาษเท่านั้น ถามว่าประชาชนคาดหวังให้ตำรวจปฏิรูปอะไร

การตั้งด่านตรวจ

ตำรวจจัดว่าเป็นหน่วยงานด้านความปลอดภัยที่อยู่ใกล้ประชาชนมากที่สุด เรียกได้ว่าลิ้นกับฟันเลยก็ว่าได้ หนึ่งในเรื่องขัดแย้งกันมากสุดระหว่างตำรวจกับประชาชนนั่นคือ การตั้งด่าน ประชาชนไม่ชอบการตั้งด่าน เพราะทำให้ช้า รถติด บางทีก็ต้องเสียเงินแบบไม่อยากเสีย(ส่วย) ในมุมตำรวจเองการตั้งด่านเหมือนเป็นการสกัดอันตรายไม่ให้เกิดขึ้น การควบคุมหมวกกันน็อคก็เพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสีย บางทีก็ตั้งด่านเพราะสายรายงานว่าจะมียาเสพติดผ่าน เป็นต้น ความคิดเห็นไม่ตรงกันแบบนี้เลยทำให้การตั้งด่านตรวจเป็นสิ่งขัดแย้งกันอยู่อีกนาน หากมีการตั้งด่านอย่างชัดเจน เชื่อว่าประชาชนรับได้

การทำงานอย่างโปร่งใส

ตำรวจถือว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ทำงานหนักมาก ไหนจะต้องสู้กับคนร้าย ไหนจะต้องสู้กับมวลชนและอีกมากมาย คู่ต่อสู้สำคัญของตำรวจนั่นคือ คนไทยหลายคนเชื่อว่า ตำรวจทำงานไม่โปร่งใส มีการวิ่งเต้น การช่วยเหลือคนร้าย ช่วยเหลือคนรวย ฯลฯ ดังนั้นหากจะปฏิรูปตำรวจ ตัวตำรวจเองก็ต้องทำให้เห็นว่า ตำรวจทำงานอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความยุติธรรมให้กับทุกคน หากตำรวจแสดงให้เห็นได้เชื่อว่า ศักดิ์ศรีของตำรวจจะเพิ่มมากขึ้นอีกโข

การบังคับใช้กฎหมาย

หน้าที่ของตำรวจเป็นเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมสังคมให้สงบเรียบร้อย แต่หากตำรวจบังคับใช้กฎหมายไม่เท่าเทียมกันละจะเกิดอะไรขึ้น จะเกิดความไม่เป็นธรรม มีความเป็นสองมาตรฐานขึ้นมา นั่นก็ทำให้คนรู้สึกเสียเปรียบไม่อยากอยู่ในสังคมด้วย ตำรวจจึงต้องมีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันมากสุด หากจะปฏิรูปตำรวจทั้งทีคดีใหญ่ คดีดังทั้งหลายตำรวจก็ต้องแสดงให้เห็นว่า พวกเค้าเข้มข้นการบังคับใช้กฎหมายจริงๆ

การสอบเข้า และ การเป็นตำรวจ

ในมุมของตำรวจเองถามว่าอยากปฏิรูปไหม บอกเลยว่าอยาก คนในองค์กรเองก็อยากปฏิรูปเช่นกัน เรื่องสำคัญของพวกเค้ามีสองจุด จุดแรกเป็นการสอบเข้าควรจะต้องโปร่งใส่ ตรวจสอบได้มากกว่านี้ เราก็คงไม่เห็นข่าวการโกงสอบเข้าตำรวจหรอก (ขนาดสอบเข้ายังโกงจะเป็นตำรวจได้ไหม) อีกจุดหนึ่งเป็นความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ เราเห็นกันอยู่ว่าหากอยากย้าย อยากโตก็ต้องมีเงินมาหนุนผลงานตัวเองด้วย เมื่อต้องใช้เงินตำรวจก็ต้องหาเงิน เมื่อหาเงินก็เปิดช่องให้ทำทุจริตด้วย ถ้าแก้ไขเรื่องนี้ได้การทุจริตก็คงจะน้อยลง

police-officer-retired

สิ่งตอบแทนเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเกษียณ

police-officer-retired

เมื่อพูดถึงงานเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ เราสามารถนึกได้ถึง นักดับเพลิง ทหาร และตำรวจ พวกเขาเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบของประเทศชาติ โดยเอาตัวเองเข้าเสี่ยง โดยได้เงินตอบแทนไม่ต่างจากงานอื่นๆ เลย แล้วประเทศชาติให้อะไรพวกเขาเป็นการตอบแทนบ้าง ทำถึงยังมีคนอยากทำงานอาชีพนี้ ทั้งๆ ที่รู้ว่าค่าตอบแทนน้อย อะไรคือสิ่งที่พวกเขาคาดหวังกัน วันนี้เราจะพามาดูสิ่งต่างๆ ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับ เมื่อได้เกษียณและกลับไปอยู่บ้านกับครอบครัวของเขา

เรามาเริ่มกันที่ตัวเลขกันก่อน จากสถิติที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ นักดับเพลิง แพทย์ หน่วยฉุกเฉินต่างๆ มีโอกาสที่จะบาดเจ็บล้มป่วยมากกว่างานอาชีพอื่นๆ ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งสิทธิพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปลดเกษียณแล้ว เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในการปฎิบัติหน้าที่ช่วยเหลือประเทศตลอดการทำงานที่ผ่านมา

ภายในวันที่ 1 มกราคม ปี ค.ศ.1987 เจ้าหน้าที่ของรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายจะได้รับสิทธิพิเศษในโครงการเกษียณ หรือทีเรียกกันว่า FERS ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปลดประจำการแล้ว ได้รับค่าตอบแทนจากสามแห่ง อันแรกคือ ประกันสังคม ที่ครอบคลุมคนงานทั้งรัฐและเอกชน สองคือกองทุนสำรอง และสุดท้ายคือเงินบำนาญตามผลงานที่มี

ผู้ที่เกษียณจะได้รับค่าครองชีพเป็นเปอร์เซ็นเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งอ้างอิงตามดัชนีราคาผู้บริโภค แต่จากข้อมูลที่มีมา มีเพียงผู้ที่อายุ 62 ปี หรือมากกว่าเท่านั้น ที่ได้รับเงินตอบแทนแบบนี้ นอกจากเป็นผู้พิการ การจ่ายเงินขึ้นอยู่กับวันที่ๆ จ่าย โดยการจะถูกแบ่งจ่ายเป็นงวดๆ ตลอดทั้งปี

นอกจากนี้ยังมีประกันภัยให้กับเจ้าหน้าที่ ถึงแม้ว่าจะปลดประจำการไปแล้วก็ตาม พวกเขาสามารถเข้ารับการรักษาตามเงื่อนไขที่กำหนดได้เหมือนตอนที่ทำงานทุกอย่าง รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัว เมื่อเราดูจากตัวเลขของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกษียณไปแล้วจะมีอายุต่ำสุดอยู่ทีราวๆ 55 ปี สำหรับคนที่เกิดในช่วงปี 1948 และ 56 ปี ในช่วงปี 1953 ถึงช่วงปี 1964 สุดท้ายคืออายุ 57 ปี เกิดช่วงปี 1970 ผู้ที่จะเกษียณได้จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปี ด้วยระยะการทำงาน 20 ปีขึ้นไป หรืออายุงาน 25 ปีขึ้นโดยไม่จำกัดอายุ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ทำให้เจ้าหน้าที่อยู่ในฐานะที่ไร้ความสามารถ หรือพิการ จนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มประสิทธิภาพ และไม่สามารถรักษาตัวจนหายขาดเพื่อมารับหน้าที่เดิมได้ จะสามารถขอเกษียณแบบพิเศษได้ โดยต้องทำการขอหลังการเกิดเหตุนั้น 18 เดือน พร้อมทั้งต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบก่อนที่จะทำการตามขั้นตอนได้

บำเหน็จบำนาญสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจ

Pension-police-laws

เจ้าหน้าที่ตำรวจ ถือเป็นงานที่อยู่ในอันตรายตลอดเวลา และพวกเขาได้รับอะไรตอบแทนในระหว่างที่รับใช้ชาติจนถึงที่สุดแล้ว นั่นก็คือบำนาณนั่นเอง ในส่วนของระบบบำนาญนั้น เป็นระบบที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก ในหลายหน่วยงานราชการมักจะจัดแบ่งบำนาญตามอายุงานบางอาชีพอาจจะอยู่อย่างสุขสบายเมื่อต้องเกษียณออกไป แต่ก็ไม่ใช่เสมอไปสำหรับทุกอาชีพ การวางแผนก่อนเกษียณจึงเป็นเรื่องสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และจำเป็นต้องทำ และเราจะทำได้อย่างไร

จากข้อมูลทางสถิติของ Bureau of Labor Statistics ค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยของเจ้าหน้าที่ดับเพลงอยู่ที่ประมาณ 43,450 สำหรับส่วนของเจ้าพนักงานตำรวจอยู่ที่ประมาณ 51,560 โดยประมาณ ทีนี้มาลองคิดกันดูว่าถ้าทำงานมาแล้ว 30 ปี เขาจะได้เงินบำนาญเท่าไหร่กัน

พนักงานดับเพลง .02 คูณ 43,450 คูณ 30 ปี เท่ากับ 26,070
เจ้าหนักงานตำรวจ .02 คูณ 51,560 คูณ 30 ปี เท่ากับ 30,936

พวกเขาควรจะรอก่อนที่จะเกษียณไหม

หลายคนคงอยากจะเกษียณจนทนไม่ไหว ในบางเมืองอาจจะมีการเงินเข้ามาจูงใจจนทำให้พวกเขาอยากจะใช้เวลาเพิ่มอีกซักปีสองปี เพื่อให้ได้อายุเกษียณที่มากขึ้น ตัวอย่างในเมือง Massachusett เจ้าหน้าที่ต้องทำงานมาแล้ว 20 ปี โดยหลังจาก 20 ปีจะได้ค่าตอบแทนเป็น 50 เปอร์เซ็นของค่าตอบแทนปีสุดท้ายเป็นเงินบำนาญ หลังจากผ่าน หลังจากนั้นจะเพิ่มขึ้น 2.5 เปอร์เซ็นทุกปี จนกระทั่งตันที่ 75 เปอร์เซ็น ผู้ที่ต้องการเกษียณจะต้องมีอายู 65 ปีขึ้นไป แต่หากทำงานมาแล้ว 20 ปี ด้วยอายุ 60 ปี เงื่อนไขด้านบนก็จะไม่เกิดขึ้น นอกเสียจากว่าคุณจะอยู่ต่ออีก 5 ปี

การกำหนดอายุเกษียณที่เพิ่มขึ้น

จากข้อมูลขององค์กร National Institution of Aging ปี 2010 มีประชากรอายุ 65 ปี ประมาณ 524 ล้านคน ในปี 2050 ตัวเลขอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า ประมาณ 1.5 พันล้านคน ข่าวดีคือเราอายุยืนขึ้นงั้นเหรอ แต่ข่าวร้ายละ อายุเกษียณจะถูกเลื่อนขึ้นมาไหม

ระบบบำนาญจะมีปัญหาไหม

ประเทศจะมีเงินจ่ายระบบบำนาญได้อยู่ไหม ทุกคนจะได้เงินบำนาญหรือเปล่า จากข้อมูลเบื้องต้น เราขาดจ่ายเงินบำนาญกว่า 968 พันล้านในปี ค.ศ.2013 รัฐบาลรับปากว่าจะจ่ายคืนให้ได้เร็วที่สุด

ความเจ็บป่วยไม่เข้าใครออกใคร

ยิ่งเราทำงานอยู่นาน สุขภาพเราก็ต้องแย่ตามไป การป่วยไข้ การบาดเจ็บ คุ้มหรือไม่ที่จะอยู่ต่อ เพื่อรอเงิน หรือจะออกไปเพื่อตัวเราเอง

เรื่องในครอบครัว

เมื่อพวกเขาเริ่มมีหลานซักคน อาจจะเปลี่ยนใจพวกเขาให้ออกมาคอยเลี้ยงดูหลานคนนี้ ไม่มีใครหรอกที่อยากทำงานไปตลอด หลายคนเลือกที่จะเกษียณออกมาก่อนเวลาเพื่อพวกเขาเหล่านี้เลยล่ะ

ประวัติและสาเหตุการตายของ Donald R. Holloway

Donald R. Holloway เป็นเจ้าหน้าที่ California Highway Patrol หรือ CHP โดยมีหน้าที่ในการลาดตระเวนทางหลวงตามแผนที่ที่ศาลแคลิฟอร์เนียกำหนดไว้ โดยพื้นที่ทั้งหมดมี 163,696 ตารางไมล์ พื้นที่ขนาดใหญ่นี้ จะต้องได้รับการดูแลจาก เจ้าหน้าที่ CHP ซึ่ง Donald R. Holloway ก็เป็นหนึ่งในนั้น Donald R. Holloway โดยเขาทำงานลาดตระเวนมา 11 ปี จนกระทั่งเสียชีวิต

Donald R. Holloway เป็นนักบินคนหนึ่งที่ได้รับ Private Pilot License เป็นหลักสูตรที่รับรองว่าบุคคลที่ถือนั้นมีความเชี่ยวชาญในด้านของการบิน Private Pilot License นี้สามารถอนุญาตให้ขับเครื่องบินส่วนตัว ไม่มีการบรรทุกผู้โดยสาร หมายถึงว่าเป็นเครื่องบินส่วนตัว ไม่ใช่เครื่องบินพาณิชย์นั่นเอง ใบขออนุญาตนักบินนั้นมีด้วยกัน 3 ประเภท คือ

1.Private Pilot License หรือ PPL ผู้ที่ถือใบอนุญาต สามารถที่จะทำการบินได้กับเครื่องบินส่วนตัวแต่ไม่สามารถที่จะรับส่งผู้โดยสารได้ โดยจะต้องผ่านการอบรม 88 ชั่วโมง แล้วทำการฝึกภาคอากาศอีก 40 ชั่วโมง จากนั้นจะต้องมาทำการสอบกับกรมขนส่งทางอากาศเพื่อที่จะขอใบรับอนุญาตตัวนี้ โดยใบอนุญาตนี้จะได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศด้วย

2.Commercial Pilot License  หรือ CPL คือ ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี โดยผู้ที่ถือนี้สามารถที่จะทำการบินเครื่องโดยสารได้ในระดับหนึ่งหรือนักบินที่สองนั่นเอง โดยเริ่มต้นนั้นจะต้องได้รับใบอนุญาต Private Pilot License ซะก่อน จึงจะสามารถที่จะมาทำใบนี้ได้ จากนั้นก็ฝึกบินต่อจนมีชั่วโมงการบินสะสมครบ 200 ชั่วโมง จึงจะสามารถที่จะมาขอสอบ CPL ได้ ผ่านทางกรมการขนส่งทางอากาศอีกทีหนึ่ง ซึ่งก็ได้รับการรับรอง ICAO หรือ มาตรฐานระดับสากล เช่นเดียวกับข้อที่ 1 ดังนั้นผู้ที่ถือครองใบขออนุญาตนักบินสองใบนี้ สามารถที่จะเอาใบทั้งสองไปสมัครในการบินนักบินที่สอง ตามสายการบินต่างๆ ทั่วโลกได้เช่นกัน

3.Air Transport Pilot License หรือ ATPคือใบขออนุญาตนักบินพาณิชย์เอก ผู้ที่ถือใบนี้ต้องมีประสบการด้านการบินที่ค่อนข้างสูง มีความชำนาญ เชี่ยวชาญอย่างมาก ใบขออนุญาตนักบินตัวนี้ถือว่าเป็นระดับสูงสุดแล้ว ซึ่งในปัจจุบันมีการกำหนดว่าจะต้องมีชั่วโมงบินสะสมที่ 1500 ชั่วโมง นักบินส่วนมากที่มีใบขออนุญาตตัวนี้มักจะได้ชั่วโมงบินมาจาก การเป็นนักบินตามสายการบินต่างๆ ไม่สามารถที่จะไปเรียนแล้วสะสมชั่วโมงได้ ดังนั้นคนส่วนมากที่ถือใบอนุญาตนี้มักจะเป็นนักบินมืออาชีพ ที่มีประสบการณ์สูงแล้ว

Donald R. Holloway ผู้ซึ่งถือใบอนุญาตนักบิน PPL ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านนี้ค่อนข้างมากพอสมควร เมื่อวันที่ 3 เดือนมกราคม ค.ศ. 1980 หลังจากที่เขาได้ขับเครื่องบินไปยังศาลซึ่งเขาให้การในคดีอาญา เขาได้ขับเครื่องบินส่วนตัวจะกลับมายังบ้านพักใน Coalinga ซึ่งอยู่ในเมือง Fresno ทางตอนกลางของรัฐแคลิฟอร์เนีย จากนั้นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินที่เขาขับเกิดการขัดข้องทำให้ตกลงสู้พื้น เขาได้รับแรงกระแทกจากเครื่องบินตกในครั้งนี้จนเสียชีวิต ในอายุเพียงแค่ 37 ปี เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดครั้งนี้สร้างความเศร้าสลดให้กับหน่วยงานที่เขาทำงาน และครอบครัวของเขาเป็นอย่างมา